กล่องข้อความ: 		7-50100-001-112  		  ชื่อพื้นเมือง	:  ไทรใบด่าง  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Ficus benjamina L. var.variegata 'Mini-rubber'  ชื่อวงศ์	:  MORACEAE  ชื่อสามัญ	:  -  ประโยชน์	:  ปลูกประดับสวนกลางแจ้ง
บริเวณที่พบ : หน้าลานพระรูป พระศรีสวรินทิราฯ
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ประดับให้ร่มเงาแต่งทรง
ลักษณะทั่วไป
ต้น :
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 10 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลม แผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง
โตช้า มีรากอากาศห้อยย้อยสวยงาม ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ทนลม ทนน้ำท่วมขัง เหมาะจะปลูกเพื่อให้ร่มเงาบริเวณริมน้ำ
ปลูกริมทะเลได้ ระบบรากแข็งแรง ถ้าปลูกในที่แล้ง ใบจะร่วงมาก
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-11 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน เส้นแขนงใบจำนวนมากและขนานกันเกือบตั้งฉากกับเส้นกลางใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกแบบแยกเพศ ขนาดเล็ก เกิดภายในฐานรองดอกทรงกลมคล้ายผล ไม่มีกลีบดอก
ผล : ทรงกลม ขนาดประมาณ 0.8 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเป็นสีแดงเข้ม
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ
ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น
ใบ
ราก

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    ไทรใบด่าง     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-112